ระบบปลั๊กและซ็อกเก็ตที่ใช้ในประเทศต่าง ๆ

​อุปกรณ์ไฟฟ้าจำเป็นต้องมีการเชื่อมต่อกับแหล่งจ่ายไฟกระแสสลับ (AC) ภายในอาคาร โดยรับกระแสไฟฟ้าผ่านปลั๊กไฟและซ็อกเก็ต AC ซึ่งปลั๊กและซ็อกเก็ตไฟฟ้าเหล่านี้ก็จะแตกต่างกันไปในเรื่อง แรงดันกระแสไฟฟ้า ขนาด รูปร่าง รวมถึงประเภทของตัวเชื่อมต่อและขั้วไฟ

ปลั๊กและซ็อกเก็ตสำหรับอุปกรณ์พกพานั้นถือกำเนิดขึ้นในปี 1880 เพื่อแทนที่การเชื่อมต่อกับซ็อกเก็ตไฟฟ้าแบบติดยึดกับผนัง ซึ่งก็มีการพัฒนาขึ้นเพื่อความสะดวกสบายและการป้องกันจากการบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้นจากกระแสไฟฟ้า

‍คำจำกัดความ

ปลั๊ก เป็นตัวเชื่อมต่อที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ซึ่งจะต่ออยู่กับอุปกรณ์ที่ทำงานด้วยไฟฟ้า ส่วน ซ็อกเก็ต เป็นอุปกรณ์ที่ติดตั้งอยู่กับโครงสร้างและมีการเชื่อมต่อกับวงจรไฟฟ้าภายในอาคาร

ปลั๊กเป็นตัวเชื่อมต่อที่เราเรียกว่าปลั๊กตัวผู้ โดยจะมีหมุดยื่นออกมาเพื่อให้ตรงกับช่องและหน้าสัมผัสของซ็อกเก็ตหรือที่เราเรียกว่าตัวเมีย ปลั๊กบางตัวยังประกอบไปด้วยหน้าสัมผัสแบบปลั๊กตัวเมียเพื่อใช้สำหรับการเชื่อมต่อสายดินเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีปลั๊กชนิดที่มีฟิวส์ภายในตัวเพื่อความปลอดภัย

ระบบปลั๊กและซ็อกเก็ตต้องมีคุณสมบัติด้านความปลอดภัยมากกว่าการมีเพียงหน้าสัมผัสแบบฝังที่อยู่ภายในของซ็อกเก็ตเท่านั้น เพื่อลดความเสี่ยงจากการถูกไฟฟ้าดูด โดยคุณสมบัติเหล่านั้นคือ:• ปลั๊กที่มีตัวหุ้มฉนวน• ช่องเสียบแบบฝังและตัวปิดรูอัตโนมัติเพื่อป้องกันเมื่อต้องถอดปลั๊กออก

‍ประเภทของปลั๊กไฟฟ้าที่ใช้ในปัจจุบัน
ปัจจุบันมีการใช้ปลั๊กและซ็อกเก็ต 15 ชนิด โดยแต่ละประเภทจะใช้ตัวอักษร (ตั้งแต่ ‘A’ ไปถึง ‘O’) โดยกระทรวงการค้าระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา (ITA)บริษัท กิตติรักษ์ อินเตอร์เนชั่นแนล (2008) จำกัด จัดจำหน่ายอุปกรณ์ช่างไฟ

แหล่งที่มา
https://en.wikipedia.org/wiki/AC_power_plugs_and_sockets
‍ https://www.worldstandards.eu/electricity/plugs-and-sockets